ตรวจสอบอาคาร กม.เสือกระดาษ ? โยธาฯเหนื่อยเข็น 3 หมื่นตึกเข้าระบบ

หลังกรมโยธาธิการและผังเมืองคลอดกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มี ผู้ตรวจสอบอาคาร พ.ศ.2548 ทำให้อาคาร 9 ประเภท จำนวนประมาณ 3 หมื่นอาคารทั่วประเทศ ต้องมีการตรวจสอบอาคาร ทั้งตรวจประจำปี และตรวจใหญ่ทุก 5 ปี</span></p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 19.3pt 0pt 0cm; text-align: justify"><span style="font-size: 10pt; font-family: tahoma"> <br /> ประกอบด้วย 1.อาคารสูง 23 เมตร ขึ้นไป 2.อาคารขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตร.ม.ขึ้นไป 3.อาคารชุมนุมคน พื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตร.ม.ขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป 4.โรงมหรสพ 5.โรงแรมตามกฎหมายโรงแรมที่มีห้องพักจำนวน 80 ห้องขึ้นไป 6.สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตร.ม.ขึ้นไป 7.อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม.ขึ้นไป 8.อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตร.ม.ขึ้นไป 9.ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีความสูงจากฐานตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตร.ม. ขึ้นไป</span></p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 19.3pt 0pt 0cm; text-align: justify"><span style="font-size: 10pt; font-family: tahoma"><br /> แม้จะเดดไลน์ให้เจ้าของอาคารทั้ง 9 ประเภท จัดส่งรายงานการตรวจสอบอาคารภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2550 แต่ปรากฏว่าผ่านมากว่า 1 ปี ผลตอบรับ ไม่เป็นไปตามเป้า มีเจ้าของอาคารส่งรายงานการตรวจสอบแค่ 80% ที่สำคัญถึงขณะนี้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ก็ยังไม่สามารถดำเนินการทางกฎหมาย กับเจ้าของอาคารได้แม้แต่รายเดียว ทำให้กรมโยธาฯถึงกับต้องกุมขมับ</span></p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 19.3pt 0pt 0cm; text-align: justify"><span style="font-size: 10pt; font-family: tahoma"><br /> วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 กรมโยธาฯ ได้เชิญผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียน 2,000 ราย มาร่วมเปิดอกถกปัญหาและอุปสรรค พร้อมกับเปิดคอร์สติวเข้ม จากนั้นเดือนต่อไปจะเป็นคิวของหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน</span></p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 19.3pt 0pt 0cm; text-align: justify"><span style="font-size: 10pt; font-family: tahoma"><br /> "อนุวัช บูรพาชน" หัวหน้ากลุ่มงานกำกับและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมโยธาฯ ยอมรับว่า ปัญหาอุปสรรคพอสรุปได้ 4 ด้าน คือ 1.การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ต้องตรวจสอบให้ได้ครบถ้วน 2.ในแง่ของกฎหมายมีบางประเด็นอาจต้องปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างลื่นไหล เช่น เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ยอมออกใบรับรอง หรือ ร.1 ให้ ทำให้เกิดการสะดุด จึงต้องพิจารณา ว่าจะให้หน่วยงานอื่นออกแทนได้หรือไม่ เป็นต้น จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีปัญหามากที่สุด เพราะยังไม่ออกใบรับรอง จำนวนมาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่เกรงว่า จะต้องรับผิดชอบหากเกิดเหตุภายหลัง ทำให้งานชะงักและยิ่งสะสมมากขึ้น จากอาคารกว่า 5,000 อาคาร มีการจัดส่งรายงานเพียงแค่ 3,700 อาคารเท่านั้น และในจำนวนนี้ออกใบรับรองได้แค่ 200 อาคาร 3.ผู้ตรวจสอบมีปัญหา เนื่องจากขาดความรู้และความเชี่ยวชาญ ทำให้คุณภาพงานไม่ดี จึงต้องเร่งพัฒนาด้วยการจัดฝึกอบรมหาเพิ่มเติม และ 4.เจ้าของอาคารไม่เห็นความสำคัญ ในส่วนนี้มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังลังเลจะตรวจสอบ เพราะมองว่าหน่วยงานรัฐ ไม่ลงโทษผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจัง อีกกลุ่ม อยากจะตรวจสอบแต่มองว่าต้องเสีย ค่าใช้จ่ายสูง และหากตรวจพบปัญหาอาจจะมีค่าใช้จ่ายปรับปรุงระบบต่างๆ ตามมา นอกจากนี้กฎหมายยังให้ระยะเวลาในการปรับปรุงเพียงแค่ 30 วัน ซึ่งน้อยเกินไป อาจต้องขยายเวลาให้เพิ่ม</span></p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 19.3pt 0pt 0cm; text-align: justify"><span style="font-size: 10pt; font-family: tahoma"><br /> ทั้งหมดนี้กรมโยธาฯเตรียมเสนอ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบอาคารรับทราบและพิจารณา ก่อนเสนอคณะกรรมการตรวจสอบอาคารแก้ไขกฎหมาย เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาให้ตรงจุดต่อไป เพื่อกฎหมายจะได้มีผลบังคับใช้ อย่างสมบูรณ์ ไม่เป็นแค่เสือกระดาษอีกต่อไป</span></p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 19.3pt 0pt 0cm; text-align: justify"><span style="font-size: 10pt; font-family: tahoma"> </span></p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 19.3pt 0pt 0cm; text-align: justify"><span style="font-size: 10pt; font-family: tahoma">ที่มา</span><span style="font-size: 10pt; font-family: tahoma">: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ</span></p>
 



Copyright 2008 Touch Property Company Limited. All rights reserved. Tel. 02-027-7888. Privacy Statement Term & condition