จี้ตรวจ 1 แสนตึกอันตราย ก่อนวางมาตรการล้อมคอก

โศกนาฏกรรม ผับนรกคร่า 63 ชีวิต ทำให้สังคมต้องกลับมาช่วยกันคิดหามาตราการล้อมคอกอีกครั้ง แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น การตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบด้านก็เป็นเรื่องจำเป็นเช่นที่อดีตนายกสมาคมผู้ตรวจสอบอาคารออกมาระบุถึงสาเหตุความหละหลวม และจำนวนตึกอันตรายที่มีอยู่ทั่วประเทศ ที่ฟังแล้วชวนขนลุกหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซานติก้าผับ สถานบันเทิงชื่อดังย่านเอกมัย มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก เหตุเกิดเมื่อคนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั้น ล่าสุดอดีตนายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ออกมาเรียกร้องผ่านทาง “คม ชัด ลึก” ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเอาจริงเอาจังต่อการบังคับใช้กฏหมายตรวจสอบอาคาร พ.ศ.2548 ซึ่งประกาศใช้มานานหลายปี แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ร.ท.วโรดม สุจริต อดีตนายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคารเผยกับทีมงานของ คม ชัด ลึก ยันให้รู้สึกขนพองสยองเกล้าว่า ปัจจุบันมีตึกและอาคารเก่าที่สร้างเสร็จมานานหลายปีและไม่เคยถูกตรวจสอบความปลอดภัยมากกว่า 1 แสน แห่งทั่วประเทศ ซึ่งอาคารเหล่านี้เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติภัยต่างๆ ทั้งปัญหาการทรุดตัว การพังถล่ม และการเกิดเพลิงไหม้เหตุสลดที่เกิดขึ้นที่ ซานติก้าผับ นั้น ร.ท.วโรดมเห็นว่า เป็นผลพวงมาจากจุดอ่อนของกฏหมายที่ใช้ควบคุมสถานบันเทิงในประเทศไทย ซึ่งมีจุดอ่อนอยู่ 4 ข้อสำคัญดังต่อไปนี้ 1.ไม่มีการควบคุม หรือบังคับห้ามไม่ให้ก่อให้เกิดความร้อนและควันไฟในอาคาร เช่น การจุดพลุ หรือจุดไฟ หรือเชื้อเพลิงต่างๆในอาคาร ซึ่งในต่างประเทศมีรายละเอียดระบุถึงขั้นหากมีกิจกรรมพิเศษที่ต้องจุดพลุไฟตามสถานที่ต่างๆ ต้องมีการจัดเตรียมรถดับเพลิงมาจอดรอยู่รอบๆ สถานที่จัดงานแค่ข้อแรกจะเห็นได้ว่า เหตุการณ์ที่ซานติก้านั้น ละเมิดกฏข้อบังคับเกือบทั้งหมดเลยทีเดียว เพราะจากปากคำผู้รอดชีวิตยืนยันว่าทั้งเกิดไฟจากเอฟเฟกท์ และมีการจุดพลุขึ้นภายในนั้นด้วยเช่นเดียวกับสาเหตุดังต่อไปนี้ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นในอาคารต่างๆ ได้อีกในอนาคต หากป้องกันไม่เข้มงวดพอ นั่นก็คือ 2.ไม่มีการห้ามใช้วัสดุติดไฟง่ายในอาคาร ส่งผลให้ในปัจจุบันการตกแต่งภายในอาคารสามารถใช้วัสดุใดๆ ก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าวัสดุนั้นจะเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีกรณีที่เกิดเพลิงไหม้หรือไม่ ต่างจากที่อเมริกา ที่มีการควบคุมวัสดุตกแต่งภายในอาคารไว้อย่างละเอียด แม้กระทั่งเสื้อผ้าเด็กยังมีการบังคับให้ใช้เส้นใยที่ไม่ติดไฟ 3.ปัจจุบันเราไม่มีการกำหนดจำนวนหรือปริมาณคนที่จะเข้าไปในอาคาร ซึ่งในต่างประเทศจะกำหนดจำนวนไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะสถานบริการต่างๆ ถึงขนาดมีการจัดเจ้าหน้าที่ไปนั่งอยู่ด้านหน้าสถานบริการ เพื่อแอบุสุ่มตรวจนับจำนวนลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการ หากเกินกำหนดเจ้าของสถานบริการจะต้องถูกลงโทษ และประการสุดท้าย ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งไปกว่ากัน 4.ในบ้านเราไม่มีการเอาจริงเอาจังกับการติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉิน ซึ่งในประเทศพัฒนาแล้วตามตึกหรืออาคารต่างๆ จะเห็นป้ายทางออกฉุกเฉินอย่างชัดเจน ทั้งนี้ในต่างประเทศหากเจ้าของตึกหรือเจ้าของอาคารฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ว่ามีโทษหนักถึงขั้นจำคุกแต่ในคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2552 ณ ซานติก้าผับนั้น ทางออกหรือทางหนีไฟทั้ง 5 จุด ไม่ได้ช่วยให้ผู้คนนับร้อยปลอดภัย สังคมควรช่วยกันกดดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอาจริงกับตึกหรืออาคารที่ไม่ปลอดภัย โดยตึกเก่าที่สร้างเสร็จแล้วต้องมีการตรวจสอบทุกปี ส่วนตึกที่สร้างใหม่จะต้องสร้างให้ถูกต้องตามกฏหมาย อีกทั้งต้องมีการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายควบคุมอาคารให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำ ซึ่งทั่วโลกเขามีการพัฒนากฏหมายด้านความปลอดภัยของอาคารอย่างน้อยปีละครั้ง ขณะที่บ้านเราเป็นไปอย่างล่าช้า กฏหมายแต่ละฉบับกว่าจะมีผลบังคับใช้ต้องใช้เวลานานหลายปี เมื่อมีแล้วก็ไม่ได้บังคับใช้อย่างจริงจัง อย่างเช่นกฏหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ.2548 มีผลบังคับใช้มานานหลายปีแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฏหมายดังกล่าวเท่าที่ควร ร.ท.วโรดมกล่าวที่สำคัญที่สุด อันจะนำไปสู่มาตรการล้อมคอกที่เข้มงวด และเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยอาคาร กล่าวว่า ตึกและอาคารกว่า 1 แสนแห่ง ทั่วประเทศที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งหาทางแก้ไขโดยด่วน ในระยะสั้น กรมโยธาธิการและผังเมือง จะต้องบังคับใช้กฏหมายตรวจสอบอาคาร พ.ศ.2548 อย่างเร่งด่วน ซึ่งต้องรีบให้ผู้ตรวจสอบอาคารที่มีอยู่ 2,000 คนทั่วประเทศ เข้าตรวจสอบตึกเก่าที่สร้างเสร็จแล้วว่ามีจุดอันตรายใดบ้างเมื่อทราบแล้วต้องให้เจ้าของอาคารปรับปรุงให้แล้วเสร็จทันที ส่วนระยะยาวคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติและคณะกรรมการภัยพิบัติแห่งชาติ ควรจัดตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษขึ้นมา 1 ชุด เพื่อรวบรวมกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับอาคารทั้งหมดมาปรับปรุงแก้ไขให้กลายเป็นกฏหมายที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีช่องโหว่หรือซ้ำซ้อนหรือยุ่งยากต่อการนำไปบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามที่มา นสพ.คมชัดลึก
 



Copyright 2008 Touch Property Company Limited. All rights reserved. Tel. 02-027-7888. Privacy Statement Term & condition